วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Video Conference


 
 
 
Video Conference
ความหมายของ Video Conference
คือระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการ
โต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสาน
ระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน

ลักษณะการใช้ประโยชน์
 
ระบบ Video Conferencing ทำให้การประชุมข้ามวิทยาเขต/ ข้ามหน่วยงาน การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) และการสอบวิทยานิพนธ์ข้ามประเทศ ซึ่งอยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุด มีการดำเนินกิจกรรมที่เสมือนอยู่ในห้องเดียวกันในลักษณะ Real Time Interactive ทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนงานการเรียนการสอน งานพัฒนาทางด้านวิชาการ ตลอดจนการบริหารงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางด้าน ICT ของมหาวิทยาลัย ที่ถึงพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์แบบทั้งเครือข่ายสื่อสาร ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลข่าวสาร และบุคลากรด้าน ICT
ปัจจุบันสำนักคอมพิวเตอร์ได้ติดตั้งระบบ Video Conferencing แล้วในทุกวิทยาเขต รวม 39 จุด และมีแผนที่จะติดตั้งเพิ่มเติมตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และบริการ ให้มีสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


 ใช้ในการเรียนการสอน ดังนี้

รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม Video Conference นับเป็นนวัตกรรมของศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งผิดแปลกแตกต่างจากการจัดการเรียนรู้ในรูปบบเดิม ๆ ที่ผ่านมาแต่นี่คือการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ทำให้โรงเรียนมีทางเลือกมากยิ่งขึ้นที่จะจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายบนมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนดไว้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมีหลากหลายด้าน

ด้านผู้เรียน  :  จากการจัดประสบการณ์เสริมจากวิทยากรผู้มากประสบการณ์มีความรู้ความเชี่ยวชาญทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น เช่น
          -ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ผลสัมฤทธิ์การประเมิน NT ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับ ๕ ของเขตตรวจราชการที่ ๑
          -ปีการศึกษา ๒๕๔๘ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของการสอบ O-NET คะแนนเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับ ๑ ของจังหวัดพะเยา และมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับ ๑ ของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ทั้ง ๑๒ โรงเรียนทั่วประเทศ

ด้านครู  :  ได้พัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้รูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้โดยสื่อเทคโนโลยีผ่านระบบ Video Conference เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ร่วมกับวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดการจัดการเรียนรู้ในเวลาปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ด้านผู้บริหารสถานศึกษา  :  มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย สะดวก ประหยัด มีคุณภาพ

ความสำเร็จที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบ Video Conference เป็นทางเลือกใหม่ในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง เป็นการเปิดโลกกว้างของการเรียนรู้ที่ผู้บริหารและครูสามารถจะจัดการให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลได้ตามศักยภาพด้วยระบบการจัดการที่ดี



ที่มา วันที่ 28ก.พ. 2556
guru.google.co.th/guru/thread?tid=2538df7ac1d0a318
www.trueplookpanya.com › ... › สื่อพัฒนานอกระบบ

Web Quest




Web Quest


       Web Quest คือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงรู้ โดยมีฐานสารสนเทศที่ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ด้วย บนแหล่งต่างๆบนอินเทอร์เน็ต และอาจเสริมด้วยระบบการประชุมทางไกล โดยมีเป้าหมายที่จะนำแหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่าย World Wide Web มาใช้เป็นฐานในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนแสวงรู้จากแหล่งความรู้ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ Web Quest ได้รับการออกแบบที่จะใช้เวลาของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้สารสนเทศมากกว่าการแสวงหาสารสนเทศ
     (วสันต์ อติศัพท์, 2547) ได้ให้คำจำกัดความภาษาไทยว่า “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ” 
 ซึ่งหมายถึงเว็บเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
     ความหมายโดยรวม Web Quest คือเป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต”

ประเภทของ Web Quest

1. Web Quest ระยะสั้น (Quest Short Term Web Quest ) มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาและบูรณาการความรู้ในระดับเบื้องต้น ที่ผู้เรียนจะเผชิญและสร้างประสบการณ์กับแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่สำคัญจำนวนหนึ่งและสร้างความหมายให้กับประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง Web Quest ประเภทนี้ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 - 3 คาบเรียน

2. Web Quest ระยะยาว (Longer Term Web Quest) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระดับการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ซึ่งเมื่อจบบทเรียนแล้ว ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ลึกซึ้งและถ่ายโอนไปใช้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ และสามารถแสดงออกถึงความเข้าใจในเนื้อหานั้นด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมา อาจจะอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบอื่นก็ได้ โดยทั่วไป Web Quest แบบนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน

ใช้ในการเรียนการสอน

  Web Quest  เป็น “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ” ที่สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้ในสังคมสารสนเทศ ที่มีแหล่งความรู้ที่หลากหลายและไร้พรมแดน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนไม่เพียงแต่ได้องค์
ความรู้ที่กลุ่มผู้เรียนสร้างสรรค์ขึ้นเอง หากแต่ผู้เรียนยังได้พบกับโลกกว้างแห่งความรู้ สิ่งที่ต้องคำนึงคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างตริตรอง ใคร่ครวญในสารสนเทศที่ได้มา เพราะยังมีสารสนเทศบน World WideWebอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองและผู้ออกแบบบทเรียนประเภทนี้ต้องคำนึงถึงจุดอ่อนนี้ด้วย




แหล่งอ้างอิง
http://www.pochanukul.com/?p=46
http://learners.in.th/blog/krusang2/210630
http://www.bestwebquests.com/what_webquests_are.asp
http://www.ipst.ac.th/it/rosegarden/somsri.htm
http://www.wikipedia.org
วันที่28 ก.พ. 2556

e-book


 
e-book คืออะไร
 
        e-book ย่อมาจากคำว่า electronic book คือหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้า

จอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่ พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ ทำให้ผู้อ่านสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว อย่างtablet ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม


ประโยชน์ของ e-Book Reader ที่ส่งผลต่อผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม

1. การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะหากมี e-Book Reader เพียงเครื่องเดียวก็เหมือนกับมีหนังสือเป็นพัน ๆ เล่ม
2. การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ เพราะ e-Book Reader มีความสามารถที่จะแสดงผลด้วยภาพ ข้อความ เสียง และมีภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย แต่จะแสดงเป็นสีหรือขาวดำนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ e-Book Reader เช่น Kindle ของ Amazon แสดงเป็นขาว-ดำ ส่วน iPad แสดงเป็นสี
3. ผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านหน้าที่ผ่านมาแล้วได้สะดวกและง่าย เพราะบางทีการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษที่เป็นเล่มหนา ๆ การจะกลับไปค้นหาคำบางคำเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
4. จากความสามารถในการเชื่อมโยงกับข้อความต่าง ๆ ภายในตัวหนังสือ หรือภายนอกเว็บไซต์อื่น ๆ จากอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถได้รับความสารที่รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้นตลอดเวลา
5. การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ เพราะการส่ง content จำนวนพัน ๆ หน้าสามารถทำได้เร็วกว่าที่จะต้องไปถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่ม ซึ่งบางทีก็ไม่ชัด และเสียเวลา
6. บางครั้งความต้องการในอ่านหนังสือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ความสามารถในอ่านพร้อม ๆ กันได้หลาย ๆ คน โดยไม่ต้องรอยืม หรือคืนเหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษในห้องสมุด ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น
7. สามารถอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เพราะไม่ยับและไม่เสียหายเหมือนกระดาษ เพราะหลายครั้ง การอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษการเกิดการขาด ยับได้ง่าย

 ใช้ในการเรียนการสอน


1. ผู้ใช้สามารถอ่านหนังสือได้ในทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการเรียนรู้
      e-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกหนึ่งในความสามารถของเครื่อง Palm ที่จะสามารถทำให้คุณเก็บบันทึกเอกสาร Text File ลงใน Palm ให้อยู่ในรูปแบบ e-book โดยการอ่าน e-book นั้น จะต้องมี Software ที่เข้ามาสนับสนุนการอ่าน File ของ e-book เช่นTealDoc,CspotRun,SmartDoc (Quick word),isilo และอื่นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ของ e-book นั้น จะช่วยให้คุณนำเอกสารจากเครื่อง PC ของคุณติดตัวไปกับคุณได้ เช่น คู่มือเอกสารสำคัญต่างๆ ข้อมูลการเดินทาง เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และอื่นๆ อีกมาก
 2. เป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สอนสามารถใช้ประกอบการสอน
      ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดเป็นเอกสาร การสอนในรายวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนอ่านสะดวก เนื่องจากผู้เรียนสามารถอ่านได้พร้อมๆ กันหลายคน อ่านได้ทุกที่ที่มีการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต ถ้าผู้เรียนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ ก็สามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องของตนเองทำให้ไม่สิ้นเปลืองกระดาษนอกจากนั้นผู้สอนยังสามารถตรวจสอบได้ว่ามีใครเข้ามาอ่านแล้วบ้าง จึงเท่ากับเป็นการ ติดตามประเมินผลผู้เรียนอีกทางหนึ่ง
ที่มา : จิราภรณ์ หนูสวัสดิ. ( 2553,มิถุนายน). วิธีการประยุกต์ใช้ e-book ในการเรียนรู้.






e-book คืออะไร อี-บุ๊ค คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เปิดอ่านด้วยคอมพิวเตอร์




ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.thaigoodview.com
http://www.i3.in.th
http://www.oknation.net
วันที่ 28 ก.พ2556

บล็อก (BLOG)




บล็อก (BLOG)  คืออะไร

     บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย



ลักษณะของสื่อใหม่

  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
                                                         

                                                                                       วันที่ 28 ก.พ 2556
                               http://www.thaigoodview.com/node/20850?page=0%2C1





































































































e-Learning


                                                       
 e-Learning 

          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูป แบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะ นี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์
ได้
  ประโยชน์ของ e-Learning
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
    การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
  • เข้าถึงได้ง่าย
    ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมากและยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
    เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
    ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น


ประโยชน์ของการเรียนแบบออนไลน์เมื่อเทียบกับการฝึกอบรมในห้องเรียน


ห้องเรียน/สถานที่อบรม
เครือข่ายออนไลน์
การเข้าถึง จำกัด (ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องเรียน) / ระยะเวลาที่เปิดสอนต่อวัน 24 ฃั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์
การวัดผล วัดผลด้วยตัวเอง หรือครูผู้สอน อัตโนมัติ หรือครูผู้สอน
การจดจำ จำกัด ไม่สามารถทวนซ้ำได้ อาจจะต้องในการจดบันทึกแทน สูง เพราะสามารถทวนซ้ำได้หลายๆ ครั้ง เท่าที่ต้องการ
ค่าใช้จ่าย สูง เพราะค่าจ้างผู้สอนต่อครั้ง ต่ำ ค่าจ้างครูผู้สอนครั้งเดียวในการผลิตเนื้อหา

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

E-Mail



     E-Mail คืออะไร
 


      E-Mail ย่อมาจาก  EIectronic-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง แต่ถ้าในกรณีที่เป็นการส่งอีเมล หรือข้อความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ เราเรียกว่า Spam  และเรียก อีเมลนั้นว่าเป็น spam mail



      ประโยชน์ของ E-Mail

     1.รวดเร็ว เชื่อถือได้
     2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ
     3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้
     4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถ   เปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
     5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน












ใช้ในการเรียนการสอน

       E-mail หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จดหมายอิเล็กทรอนิคส์" มีความหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เช่น "สมชาย" สามารถส่งข้อความจดหมายของตนจากจังหวัดชลบุรี ไปให้ "สมศรี" ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรีไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของสมศรีที่จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งสมชายยังสามารถแนบแฟ้มข้อมูล (file) ชนิดต่าง ๆ ไปพร้อมกับจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ฉบับนั้นไปได้อีกด้วย

ดังนั้นครู-อาจารย์ยุคปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน จำเป็นต้องประยุกต์ใช้งาน E-mail หรือจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ให้เข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองในทุกรายวิชา ไม่เฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ได้ วิชาอื่น ๆ อาทิเช่น วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์หรือแม้แต่วิชาพลศึกษา ก็สามารถประยุกต์ใช้งาน E-mail หรือจดหมายอิเล็กทรอนิคส์กับการเรียนการสอนในวิชานั้น ๆ ได้






ข้อมูลอ้างอิง
http://guru.sanook.com
http://mtbkzone.exteen.com
http://www.ismed.or.th

วันที่18 กุมภาพันธ์ 2556

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเกิดลม

 

 

การเกิดลม



                   การเกิดลม

        ลมคือ อากาศที่เคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศ เป็นผล เนื่อง จากความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง หรือความ  แตกต่างของความกดอากาศสองแห่ง โดยลม จะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง เข้าสู่บริเวณที่มี ความกดอากาศต่ำ โดยกระแสการไหลของลมจะหยุด หรือความดันของสองจุดมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตามการ ไหลของลมจะเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากปรากฏการณ์ โคริโอลิส

 

 

                                                                           กระบวนการเกิดลม

              เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
  1.     เนื่องจากความแตกต่าง ของอุณหภูมิสอง แห่ง อากาศเมื่อได้ความร้อนจะขยายตัว อากาศร้อนจึงลอยตัวสูงขึ้น อากาศที่อุณหภูมิ ต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง จะเคลื่อนที่เข้าแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศ เนื่องจากสองแห่งมี อุณหภูมิต่างกันทำให้เกิดลม

  1.      เนื่องจากความแตกต่างของความกดอากาศ     อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำ ให้มีความหนาแน่นลดลง และเป็นผลให้ความ กดอากาศน้อยลงด้วย อากาศเย็นบริเวณใกล้ เคียง ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า จะเกิดการ เคลื่อนที่เข้ามาบริเวณ ที่มีความกดอากาศต่ำ กว่า การเคลื่อนที่ของอากาศ เนื่องจากสอง แห่งมี ความ กดอากาศต่างกัน ทำให้เกิดลม



               ประโยชน์ของลม

         อากาศที่เคลื่อนที่ย่อมเกิดพลัง เราใช้ประโยชน์จาก พลังของลมได้หลายทางเช่น ใช้หมุนกังหัน  ลม เพื่อช่วย บดข้าวโพด ให้เป็นแป้งหรือ เพื่อการผลิต กระแสไฟฟ้า ใช้หมุนกังหันวิดน้ำ และใช้สำหรับ การแล่นเรือใบเป็นต้น
                        

               สภาพอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ

 

               พื้นดินและพื้นน้ำรับและคายความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน พื้นดินจะรับและคายความร้อนได้ดีกว่าพื้น น้ำ ในเวลากลางวันอุณหภูมิของพื้นดินจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พื้นน้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้อากาศ เหนือพื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ส่วนในเวลากลางคืนพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้ อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ทำให้เกิดลมขึ้น   ดังนั้นในเวลากลางคืนอุณหภูมิของ อากาศ เหนือพื้นน้ำ จึงมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดิน   
สรุป อากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ
มีอุณหภูมิต่างกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน






 ที่มา        www.thaigoodview.com/library/.../type1/.../p01.html
 
   วันที่ 17 ก.พ. 2556