วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สุริยุปราคา (Eclipses of the Sun)





สุริยุปราคา (Eclipses of the Sun)


          




 สุริยุปราคา (Eclipses of the Sun)

          บางครั้งเกิดปรากฏการณ์อันน่ามหัศจรรย์ขึ้นในท้องฟ้าโดยที่มีเงาดำเคลื่อนเข้าไปกับดวงอาทิตย์ บังแสงสว่างที่สาดส่องลงมาให้หมดไป จนที่สุดเราจะเห็นเงามืดแต่มีขอบเป็นแสงสว่างประกายเจิดจ้าเป็นวงกลมลอยอยู่ในเวลาที่มีสีครามแก่ ยามนี้จะเห็นดาวปรากฏขึ้นในท้องฟ้าบางส่วน นกที่เคยออกหากินในเวลากลางคืนจะตื่นบินออกจากลรังด้วยเข้าใจว่าถึงเวลาหากินแล้ว ตอนนี้ดูเหมือนว่าพระอาทิตย์ได้หายไปจากท้องฟ้าจากท้องฟ้าชั่วขณะหนึ่ง
           ตรงตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์อยู่นั้น เราจะมองเห็นรูปกลมสีดำสนิทมีรังสีทรงกลดโดยรอบปรากฏอยู่แทนที่ เงาสีดำสนิทนั้นคือ ดวงจันทร์ และรังสีทรงกลดที่งดงามนั้นคือรังสี
ขอบนอกของพระอาทิตย์ ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ไปบังแสงดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังพื้นโลกเสียนี้เราเรียกว่า สุริยุปราคา
            สุริยุปราคามีอยู่ 3 อย่างคือ ถ้าดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์บางส่วนก็เรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน ถ้าบังหมดทั้งดวงก็เรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ถ้าบังตรงกลางมีขอบแสงสว่างปรากฏออกโดยรอบก็เรียกว่า สุริยุปราคาวงแหวน ปรากฏการณ์ทั้งสามอย่างนี้เกิดขึ้นได้ในตอนกลางวันของแรม14-15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ เมื่อดวงจันทร์ซึ่งหมุนรอบโลกได้มาอยู่ในระดับเส้นตรงเดียวกันระหว่างโลกและดวงอาทิตย์โดยมีดวงจันทร์อยู่กลางจึงบังแสงสว่างของพระอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกเสีย และการที่ดวงจันทร์สามารถบังดวงอาทิตย์ได้หมดทั้ง ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าถึง 400 กว่าเท่านั้นก็เป็นเพราะพระอาทิตย์อยู่ห่างโลกไปกว่าดวงจันทร์ 400 เท่าด้วยเหมือนกัน ภาพปรากฏของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงมีขนาดเท่ากัน
            ปรากฏการณ์ของสุริยุปราคานั้น เห็นได้ในบางส่วนของโลก และสุริยุปราคาเต็มดวงมีระยะการเห็นได้กว้างไม่เกิน 167 ไมล์ ซึ่งเป็นเขตให้เงาดำสนิทเคลื่อนผ่านไป แต่
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่นอกเขตดำสนิทก็จะเห็นปรากฏการณ์ของสุริยุปราคาด้วยเหมือนกันหากไม่เห็นเต็มดวง คงเห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น และอาณาบริเวณที่เห็นได้บางส่วนนี้มี
ความกว้างยิ่งกว่าที่เห็นเต็มดวง



ที่มา blog.eduzones.com/khom/32704                                                                                                       วันที่วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2556

1 ความคิดเห็น:

  1. ได้รู้ว่า ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์อยู่นั้น เราจะมองเห็นรูปกลมสีดำสนิทมีรังสีทรงกลดโดยรอบปรากฏอยู่แทนที่ เงาสีดำสนิทนั้นคือ ดวงจันทร์ และรังสีทรงกลดที่งดงามนั้นคือรังสี

    ตอบลบ